เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 5. อินทริยสโมธาน
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงประคองไว้ เพราะความ
เป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น
เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความ
เป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น
จึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น
เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะ
ความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจ
มั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น
จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น
เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้
ชัดจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้ง
สติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะ
ความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัด
พุทธจักขุชื่อว่าพุทธญาณ พุทธญาณชื่อว่าพุทธจักขุ เป็นเครื่องให้พระตถาคต
ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย
พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวก
มักไม่เห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัย
คำว่า มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก บุคคลผู้มีความเพียร ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :343 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 5. อินทริยสโมธาน
ปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีสติหลงลืม ชื่อ
ว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน
ปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
บุคคลผู้มีปัญญาดี ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีปัญญาทราม
ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มี
อินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดี
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน
คำว่า มีอาการดี มีอาการทราม อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการดี
บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการทราม ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดี เป็นผู้มีอาการดี
บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้มีอาการทราม
คำว่า พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก อธิบายว่า บุคคลผู้มี
ศรัทธา เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
บุคคลผู้มีความเพียร เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้เกียจคร้าน เป็นผู้พึงสอน
ให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีสติหลงลืม
เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคล
ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีปัญญาดี เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้ง
ได้ง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
คำว่า บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็น
ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มักเห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดย
ความเป็นภัย ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :344 }